วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เด็กๆ โรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์ เข้ารอบ Doodle 4 Google

เด็กๆ โรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์ เข้ารอบ 100 คน(ในแต่ละรุ่น) ในการประกวด Doodle 4 Google - เมืองไทยของฉัน

ตามที่
Google ได้เริ่มจัดการประกวด Doodle 4 Google
ครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อเดือนมราคม 2553
โดยการจัดประกวดนี้ได้เปิดโอกาสให้เยาวชนชาวไทย
ทั่วประเทศร่วมแสดงจินตนาการ
และความคิดสร้างสรรค์ภายใต้หัวข้อ "เมืองไทยของฉัน"

ภาพที่ส่งเข้าประกวดนั้นเกินความคาดหมายของเรามาก
ทั้งในเรื่องของจำนวนซึ่งมีมากถึง 46,000 ดูเดิล
จากกว่า 11,000 โรงเรียนทั่วประเทศ
รวมไปถึงความสามารถทางด้านศิลปะ
และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กไทย


ทางโรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์
ได้ส่งผลงานของเด็กๆ
ร่วมประกวด และได้เข้ารอบ 100 มาถึง 9 คน
นิชานันท์ นาคไทย - โรงเรียนพระหฤทัยนนทบุรี - ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว
ฐิตาภา อินกว่าง - วัฒนธรรมของชาติไทย
ธีธัช ดิลกโกมล - โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์(เมืองทอง)- เมืองไทยอู่ข้าวอู่น้ำของโลก
นันท์นภัส ทองสุข - โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์(เมืองทอง)- ต้มยำกุ้ง
อภิสรา ขำแขก - โรงเรียนพิชญศึกษา - ศิลปะท้องถิ่น
นภัท พวงสำลี - โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์(เมืองทอง)- เมืองแห่งหัตถกรรมพื้นบ้าน
นภสวรรณ ศรีพักดี - โรงเรียนแม่พระฟาติมา - เมืองไทยของฉันน่าเที่ยวที่สุดในโลก
โยทกา บุญชู - โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์(เมืองทอง) - เมืองไทยของฉันคือสวนรวมของพระพุทธศาสนา
ฌาน ปกรณ์ ชัยกล้าหาญ -โรงเรียนชลประทานวิทยา

โรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์
ขอแสดงความยินดีกับเด็กๆ ทุกคนด้วยนะครับ

จากที่เด็กๆ จากโรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์
มีบางส่วนได้ส่งเข้าประกวดด้วย
ก่อนหน้าจะให้มีการส่งไปประกวดนั้น
ครูก็ถามความเห็นของเด็กทีละคน
ว่าใครอยากส่งบ้าง ใครไม่อยากบ้าง
และเมื่อได้คำตอบ ก็ลงมือวาดลงมือทำกันไป
ก่อนวาด ครูก็บอกเด็กๆ ที่อยากส่งว่า
เราทำไปตามความคิดความถนัด
ความสามารถของเรา การชนะรางวัลหรือไม่นั้น
ให้เป็นเรื่องที่จะเป็นไปในอนาคต
ใครได้ ใครไม่ได้คงไม่ใช่เรื่องต้องมานั่งสนใจ
เพราะถ้ามีคนที่ได้ ก็ต้องมีคนไม่ได้
มีคนดีใจก็มีคนเสียใจ
ธรรมชาติการประกวดแข่งขันทั้งหลาย
คนผิดหวังมักมีมากกว่าคนสมหวัง
ทุกการประกวดต่างก็มีกฏ กติกาที่แตกต่าง
มีกรรมการที่แตกต่าง และมุมมองต่อความสวยงาม
ก็แตกต่างไปด้วย
และบอกไปอีกว่า ลึกแล้ว
โรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์เอง
ครูเองก็ไม่ค่อยส่งผลงานเด็กๆ เข้าประกวดบ่อยครั้งนัก
ยกเว้นมีการร้องขอจากเด็กๆ เป็นครั้งๆ ไป
เพราะโรงเรียนเราเชื่อเสมอว่า ศิลปะไม่น่ามีกฏเกณฑ์
อะไรที่ตายตัวมาชี้วัด และความสวยงามทั้งหลายเป็นปัจจเจก

ดังเช่นที่มักบอกกับผู้ปกครองและเด็กๆ เสมอว่า
...การเรียนศิลปะของเด็กที่โรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์
จึงไม่ใช่การคาดหวัง ให้เด็กวาดรูปได้เหมือนและสวย
ตามความรู้สึกของผู้ใหญ่ หรือเพื่อเป็นศิลปินในอนาคต
หากเป็นการช่วยให้เด็กได้มีโอกาส เสริมสร้างลักษณะนิสัย
ในทางสร้างสรรค์เพื่อเตรียมความพร้อม
อย่างถูกอย่างควรทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ
สติปัญญา อารมณ์และสังคม ให้สามารถเรียนรู้วิชาการด้านอื่น ๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ใครที่ได้รางวัล ผมเองก็ยินดี และดีใจไปกับเขา
ใครผิดหวังก็บอกว่า มันก็เป็นแบบนี้แหละ
ไม่มีอะไรน่าเสียใจและผิดหวังเลย
เมื่อเราสร้างผลงานสำเร็จ รางวัลมันก็
ได้เกิดกับเราแล้ว คือผลงานที่เสร็จนั่นเอง



นิชานันท์ นาคไทย - โรงเรียนพระหฤทัยฯ นนทบุรี - ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว


นภัท พวงสำลี - โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์(เมืองทอง)- เมืองแห่งหัตถกรรมพื้นบ้าน



ธีธัช ดิลกโกมล - โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์(เมืองทอง)- เมืองไทยอู่ข้าวอู่น้ำของโลก


อภิสรา ขำแขก - โรงเรียนพิชญศึกษา - ศิลปะท้องถิ่น


โยทกา บุญชู - โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์(เมืองทอง) - เมืองไทยของฉันคือสวนรวมของพระพุทธศาสนา


นันท์นภัส ทองสุข - โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์(เมืองทอง)- ต้มยำกุ้ง


ฐิตาภา อินกว่าง -วัฒนธรรมของชาติไทย

ผลผู้ชนะ กูเกิล ดูเดิ้ล